ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ ประมวล วีรุตมเสน
1.ชื่อ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ ประมวล วีรุตมเสน
2.เป็นที่รู้จักในด้าน
“นายแพทย์ผู้ทุ่มเททั้งกายและใจให้กับงานวิจัย และประสบความสำเร็จในการคิดค้นการให้กำเนิดเด็กหลอดแก้วคนแรกของประเทศไทย”
ผลงานที่ทำ
ผู้บุกเบิกเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ของประเทศไทย โดยเป็นหนึ่งในทีมแพทย์ให้กำเนิดเด็กชายปวรวิทย์ ศรีสหบุรี ซึ่งเป็นเด็กหลอดแก้วรายแรกของไทยขึ้นได้สำเร็จ ณ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2530 นอกจากนี้ยังเป็นนักวิจัยสรีรวิทยาการเจริญพันธุ์ ตลอดจนเป็นอาจารย์และนักวิชาการ เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการแพทยสภาและเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาสูติ-นรีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2536 - 2539 และเคยเป็นประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยช่วง พ.ศ. 2537 - 2538
(ที่มา: http://th.wikipedia.org)
3.แนวความคิด / ทัศนคติ / แรงบันดาลใจ / ฝากถึงรุ่นน้อง นศ.แพทย์ / มุมมองต่อคณะแพทย์จุฬาฯ
แรงบันดาลใจผ่านร่างอาจารย์ใหญ่
- เข้ามาเรียนวันแรกอาจารย์ก็พาเดินไปดูศพอาจารย์ใหญ่ พอผมขึ้นไปเห็นแล้วรู้สึกว่า ...คิดผิดแล้วที่มาเรียนหมอ ไม่เอาดีกว่า แต่อาจารย์ที่สอนท่านพูดดีมาก ท่านบอกว่า “นักศึกษาแพทย์ที่รัก ศพอาจารย์ใหญ่ที่นอนทอดร่างอยู่นี่ ครั้งหนึ่งมีอารมณ์โกรธ หลง หัวร่อต่อกระซิกได้เหมือนอย่างพวกเรา แต่ขณะนี้ท่านไม่มีอะไรแล้ว มีแต่ร่างกายที่ไม่มีอันตรายต่อใครอีกแล้ว อยากให้นักศึกษาทุกๆคนใช้ความพยายามมุ่งมั่น ปลุกท่านให้ตื่นให้ลุกขึ้นมาคุยให้ได้” คำพูดนี้พลิกความคิดผมเลย จากที่ไม่เอาแล้ว... เปลี่ยนเป็นความคิดที่ว่าเราต้องศึกษา ดูแลร่างท่าน
หลักการทำงาน เน้นที่กระบวนการมากกว่าผลลัพธ์
- เมื่อเราตั้งใจแล้วเราต้องมีความมุ่งมั่นว่าศึกษาความรู้ไว้ให้มากที่สุด มีอะไรผมก็ทำไปทำทุกอย่างโดยไม่รังเกียจ โดยไม่ได้คิดอะไร สมัยเรียนอยู่ต่างประเทศ เที่ยงคืน ตี 1 ผมต้องเดินลุยหิมะไปทำวิจัย ซึ่งใครก็บอกบ้า ไม่ทำกันหรอก ผมก็ทำไม่อยากให้คนอื่นว่าเราไม่แน่จริง และสิ่งผมที่เคยบอกรุ่นหลังๆไว้ว่า กรอบความคิดหรือวิธีคิดเป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่าผลลัพธ์ ผลลัพธ์มันเป็น End แต่ process หรือกระบวนการผมคิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผมเองจะสอนให้เด็กทำกรอบความคิด วิธีคิด ขั้นตอนการคิดเป็นกระบวนการ ไม่ใช่มาวัดตอนที่มันจบแล้ว
คติในการดำเนินชีวิต
- ถ้าเราวางแผนที่ดีแล้วมันต้องไปถึงจุดที่ตั้งไว้แน่แน่นอน ทำงานอะไรต้องใจถึง มุ่งมั่น Henry Ford ท่านเขียนไว้ว่า “The harder I work, the luckier I get” เป็นคติที่ผมใช้อยู่ตลอดเวลา
ฝากถึงแพทย์ในวันข้างหน้า
- อยากให้คนเป็นแพทย์ทุกคนยึดถือว่าทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดในชีวิตคือ ผู้ป่วย ไม่ใช่เงิน ไม่ใช่ความร่ำรวย คือผู้ป่วยที่เราดูแล อยากให้ดูแลเขาเหมือนกับญาติสนิทของเรา เราดูแลคุณพ่อคุณแม่อย่างไร ก็จงดูแลผู้ป่วยทุกคนเช่นนั้น ไม่ว่ายากดีมีจนขอให้ช่วยผู้ป่วยด้วยความตั้งใจ ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ เราต้องทำตามความรู้ ตามความสามารถ และต้องซื่อสัตย์สุจริตต่อวิชาชีพ และคำว่าสินบนกับสินน้ำใจนั้นต่างกัน สินบนก็คือว่าต่อรองก่อนที่ Action จะเกิดขึ้น คือต้องเอามาเท่านี้ก่อนนะถึงจะรักษาให้ แต่สินน้ำใจนั้นคนละเรื่อง เราดูแลเขาเป็นอย่างดีเขาอาจจะให้ไข่ชะลอมหนึ่ง เนคไทเส้นหนึ่งอันนี้ไม่ว่ากัน
มุมมองต่อคณะแพทย์จุฬาฯ
- ผมอยากให้คณะแพทย์เป็นแหล่งผลิตบุคคลากร ทุ่มเทสร้างบุคลากรให้มีความพร้อมทางวิชาการ แล้วการรักษาก็จะตามมา และต้องพัฒนาบุคลากรทุกฝ่ายไม่ใช่แค่แพทย์ ต้องปลูกฝังความรับผิดชอบ ต้องสร้างคนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะถ้าหากพัฒนาบุคคลากรแล้ว บุคคลกรก็ไปพัฒนาอย่างอื่นต่อ
4.ประวัติการศึกษาและผลงาน
การศึกษา
เตรียมแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2499
แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2501
วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย พ.ศ. 2512
อนุมัติบัตรแพทย์ผู้ชำนาญการ แพทยสภา พ.ศ. 2518
ตำแหน่งทางวิชาการ
อาจารย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2510
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พ.ศ. 2518
รองศาสตราจารย์ พ.ศ. 2521
ศาสตราจารย์ ระดับ พ.ศ. 2533
หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา พ.ศ. 2536
ศาสตราจารย์ ระดับ๑๑ พ.ศ. 2538
ศาสตราจารย์กิตติคุณแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2543
ปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2556
ตำแหน่งทางวิชาชีพ
ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2537-2538
เลขาธิการแพทยสภา พ.ศ. 2543-2546
ตำแหน่งอื่นๆ
ที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
ราชวิทยาลัยสูตินรีแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2556-ปัจจุบัน
รางวัล
นักวิจัยดีเด่นแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2535
ผลงานวิจัย และผลงานทางวิชาการ
ผลงานวิจัย “เด็กหลอดแก้ว” คนแรกของประเทศไทย พ.ศ. 2530
สร้างเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) จากตัวอ่อนเป็นรายแรกของประเทศไทย พ.ศ. 2550
บทความทางวิชาการและตำราทางวิชาการ ได้ตีพิมพ์ มากกว่า ๑๐๐ ชิ้น
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ ประมวล วีรุตมเสน
2.เป็นที่รู้จักในด้าน
“นายแพทย์ผู้ทุ่มเททั้งกายและใจให้กับงานวิจัย และประสบความสำเร็จในการคิดค้นการให้กำเนิดเด็กหลอดแก้วคนแรกของประเทศไทย”
ผลงานที่ทำ
ผู้บุกเบิกเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ของประเทศไทย โดยเป็นหนึ่งในทีมแพทย์ให้กำเนิดเด็กชายปวรวิทย์ ศรีสหบุรี ซึ่งเป็นเด็กหลอดแก้วรายแรกของไทยขึ้นได้สำเร็จ ณ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2530 นอกจากนี้ยังเป็นนักวิจัยสรีรวิทยาการเจริญพันธุ์ ตลอดจนเป็นอาจารย์และนักวิชาการ เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการแพทยสภาและเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาสูติ-นรีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2536 - 2539 และเคยเป็นประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยช่วง พ.ศ. 2537 - 2538
(ที่มา: http://th.wikipedia.org)
3.แนวความคิด / ทัศนคติ / แรงบันดาลใจ / ฝากถึงรุ่นน้อง นศ.แพทย์ / มุมมองต่อคณะแพทย์จุฬาฯ
แรงบันดาลใจผ่านร่างอาจารย์ใหญ่
- เข้ามาเรียนวันแรกอาจารย์ก็พาเดินไปดูศพอาจารย์ใหญ่ พอผมขึ้นไปเห็นแล้วรู้สึกว่า ...คิดผิดแล้วที่มาเรียนหมอ ไม่เอาดีกว่า แต่อาจารย์ที่สอนท่านพูดดีมาก ท่านบอกว่า “นักศึกษาแพทย์ที่รัก ศพอาจารย์ใหญ่ที่นอนทอดร่างอยู่นี่ ครั้งหนึ่งมีอารมณ์โกรธ หลง หัวร่อต่อกระซิกได้เหมือนอย่างพวกเรา แต่ขณะนี้ท่านไม่มีอะไรแล้ว มีแต่ร่างกายที่ไม่มีอันตรายต่อใครอีกแล้ว อยากให้นักศึกษาทุกๆคนใช้ความพยายามมุ่งมั่น ปลุกท่านให้ตื่นให้ลุกขึ้นมาคุยให้ได้” คำพูดนี้พลิกความคิดผมเลย จากที่ไม่เอาแล้ว... เปลี่ยนเป็นความคิดที่ว่าเราต้องศึกษา ดูแลร่างท่าน
หลักการทำงาน เน้นที่กระบวนการมากกว่าผลลัพธ์
- เมื่อเราตั้งใจแล้วเราต้องมีความมุ่งมั่นว่าศึกษาความรู้ไว้ให้มากที่สุด มีอะไรผมก็ทำไปทำทุกอย่างโดยไม่รังเกียจ โดยไม่ได้คิดอะไร สมัยเรียนอยู่ต่างประเทศ เที่ยงคืน ตี 1 ผมต้องเดินลุยหิมะไปทำวิจัย ซึ่งใครก็บอกบ้า ไม่ทำกันหรอก ผมก็ทำไม่อยากให้คนอื่นว่าเราไม่แน่จริง และสิ่งผมที่เคยบอกรุ่นหลังๆไว้ว่า กรอบความคิดหรือวิธีคิดเป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่าผลลัพธ์ ผลลัพธ์มันเป็น End แต่ process หรือกระบวนการผมคิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผมเองจะสอนให้เด็กทำกรอบความคิด วิธีคิด ขั้นตอนการคิดเป็นกระบวนการ ไม่ใช่มาวัดตอนที่มันจบแล้ว
คติในการดำเนินชีวิต
- ถ้าเราวางแผนที่ดีแล้วมันต้องไปถึงจุดที่ตั้งไว้แน่แน่นอน ทำงานอะไรต้องใจถึง มุ่งมั่น Henry Ford ท่านเขียนไว้ว่า “The harder I work, the luckier I get” เป็นคติที่ผมใช้อยู่ตลอดเวลา
ฝากถึงแพทย์ในวันข้างหน้า
- อยากให้คนเป็นแพทย์ทุกคนยึดถือว่าทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดในชีวิตคือ ผู้ป่วย ไม่ใช่เงิน ไม่ใช่ความร่ำรวย คือผู้ป่วยที่เราดูแล อยากให้ดูแลเขาเหมือนกับญาติสนิทของเรา เราดูแลคุณพ่อคุณแม่อย่างไร ก็จงดูแลผู้ป่วยทุกคนเช่นนั้น ไม่ว่ายากดีมีจนขอให้ช่วยผู้ป่วยด้วยความตั้งใจ ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ เราต้องทำตามความรู้ ตามความสามารถ และต้องซื่อสัตย์สุจริตต่อวิชาชีพ และคำว่าสินบนกับสินน้ำใจนั้นต่างกัน สินบนก็คือว่าต่อรองก่อนที่ Action จะเกิดขึ้น คือต้องเอามาเท่านี้ก่อนนะถึงจะรักษาให้ แต่สินน้ำใจนั้นคนละเรื่อง เราดูแลเขาเป็นอย่างดีเขาอาจจะให้ไข่ชะลอมหนึ่ง เนคไทเส้นหนึ่งอันนี้ไม่ว่ากัน
มุมมองต่อคณะแพทย์จุฬาฯ
- ผมอยากให้คณะแพทย์เป็นแหล่งผลิตบุคคลากร ทุ่มเทสร้างบุคลากรให้มีความพร้อมทางวิชาการ แล้วการรักษาก็จะตามมา และต้องพัฒนาบุคลากรทุกฝ่ายไม่ใช่แค่แพทย์ ต้องปลูกฝังความรับผิดชอบ ต้องสร้างคนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะถ้าหากพัฒนาบุคคลากรแล้ว บุคคลกรก็ไปพัฒนาอย่างอื่นต่อ
4.ประวัติการศึกษาและผลงาน
การศึกษา
เตรียมแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2499
แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2501
วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย พ.ศ. 2512
อนุมัติบัตรแพทย์ผู้ชำนาญการ แพทยสภา พ.ศ. 2518
ตำแหน่งทางวิชาการ
อาจารย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2510
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พ.ศ. 2518
รองศาสตราจารย์ พ.ศ. 2521
ศาสตราจารย์ ระดับ พ.ศ. 2533
หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา พ.ศ. 2536
ศาสตราจารย์ ระดับ๑๑ พ.ศ. 2538
ศาสตราจารย์กิตติคุณแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2543
ปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2556
ตำแหน่งทางวิชาชีพ
ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2537-2538
เลขาธิการแพทยสภา พ.ศ. 2543-2546
ตำแหน่งอื่นๆ
ที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
ราชวิทยาลัยสูตินรีแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2556-ปัจจุบัน
รางวัล
นักวิจัยดีเด่นแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2535
ผลงานวิจัย และผลงานทางวิชาการ
ผลงานวิจัย “เด็กหลอดแก้ว” คนแรกของประเทศไทย พ.ศ. 2530
สร้างเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) จากตัวอ่อนเป็นรายแรกของประเทศไทย พ.ศ. 2550
บทความทางวิชาการและตำราทางวิชาการ ได้ตีพิมพ์ มากกว่า ๑๐๐ ชิ้น