ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ ชวลิต อ่องจริต

ศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์ชวลิต  อ่องจริต (แพทย์จุฬารุ่นที่ 6)
PROFESSOR EMERITUS
CHAWALIT ONGCHARIT M.D., F.A.C.S., F.I.C.S., F.R.C.S.T., D.T.C.D. (WALES)

ประวัติการศึกษาและผลงานวิชาการ
แพทย์ศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ (รุ่นที่ 6)
  • ได้รับทุน BRITISH COUNCIL SCHOLARSHIP ไปศึกษาต่อทางศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก ณ ประเทศ สหราชอาณาจักร ศึกษาศัลยกรรมหัวใจและทรวงอกที่  CARDIO THORACIC INSTITUTE, UNIVERSITY OF LONDON และ โรคเกี่ยวกับปอด (DISEASES OF THE CHEST) ที่เมือง CARDIF, UNIVERSITY OF WALES
  • ได้รับทุน  CHINA MEDICAL BOARD OF NEW YORK (สาขาของทุน ROCKY FELLER FOUNDATION) ไปศึกษาศัลยกรรมหัวใจ FELLOWSHIP ที่ MAYO CLINIC, ROCHESTER, MINN., U.S.A.
  • อนุมัติบัตรผู้มีความรู้ความชำนาญ สาขาศัลยศาสตร์ทรวงอก, แพทยสภา
  • เป็นศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เป็นศัลยแพทย์คนแรกที่ทำผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจสำเร็จในประเทศไทย และเอเชียอาคเนย์
  • เป็นศัลยแพทย์รุ่นบุกเบิกการผ่าตัดหัวใจชนิดเปิด OPEN HEART OPERATION ด้วยเครื่องหัวใจและปอดเทียมในประเทศไทย
  • เป็นผู้ประดิษฐ์ลิ้นหัวใจเทียมขึ้นใช้ในประเทศไทยเป็นคนแรก
  • เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย และเป็นนายกสมาคมเป็นคนแรก
  • ในฐานะนายกสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นผู้เสนอก่อตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย และเป็นกรรมการชุดแรก
  • เป็นผู้ได้รับรางวัล มหาวิทยาลัยมหิดล บีบราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย ประจำปี พ.ศ. 2537 จากผลงานนำคณะทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจสำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และอาเซียน ผลจากความสำเร็จนี้เป็นการเริ่มต้น การใช้อวัยวะบริจาค คือ หัวใจจากผู้บริจาค ภาวะสมองตายเป็นครั้งแรก ทำให้การปลูกถ่ายอวัยวะ อื่น ๆ  คือ ไต ตับ ปอด มีการทำมากขึ้น ช่วยให้วงการปลูกถ่ายอวัยวะในประเทศไทย พัฒนาขึ้นอย่างมาก เกิดการปลูกถ่ายอวัยวะอย่างครบวงจร มีความต้องการอย่างมาก จนมีการก่อตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะแห่งชาติขึ้นในสภากาชาดไทย และประเทศไทยได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำในการเปลี่ยนปลูกถ่ายอวัยวะของเอเชีย
  • เป็นหัวหน้าคณะนำทีมศัลยแพทย์ทรวงอก ในนามของสภากาชาดไทย คณะประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ พยาบาลห้องผ่าตัด รถลำเลียง ฯลฯ พร้อมคณะใหญ่ไปประจำอยู่ในกรุงพนมเปญ เพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากสงครามระหว่างสงครามเขมรสามฝ่าย
รางวัลต่าง ๆ และการเป็นที่ยอมรับ
  • รางวัลเกียรติยศจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการที่นำคณะทำผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจสำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • รางวัลโล่ห์เกียรติยศจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในการที่ทำผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจสำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • รางวัลโล่ห์เกียรติยศจากสมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย ในการที่ทำผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจสำเร็จเป็นคนแรกในประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • รางวัล Education Video Programme Award  เรื่อง Heart Transplantation จากราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
  • Man of the year 1990, American Biographical Institute (ABI) USA
  • Research Advisor of the year 1991, American Biographical Institute (ABI) USA
  • Doctor of the year 1991, International college of surgeons
  • รางวัลศิษย์เก่าแพทย์จุฬาดีเด่น พ.ศ. 2533
  • รางวัล มหาวิทยาลัยมหิดล บีบราวน์ เพื่อการแพทย์ และสาธารณสุขไทย ประจำปี พ.ศ. 2537 จากการที่นำคณะทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจสำเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นการเริ่มต้นใช้ Beating Heart Brain Death donor จากผู้บริจาคอวัยวะที่อยู่ในภาวะสมองตาย แต่หัวใจยังเต้นอยู่ ช่วยให้การปลูกถ่ายอวัยวะอื่น ๆ พัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก
  • รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล บีบราวน์นี้ ประกอบด้วยเงินรางวัล 400,000 บาท รับมอบจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลในวันประกาศรางวัล และประกาศนียบัตรรับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์นายแพทย์ชวลิต อ่องจริตได้นำเงินรางวัล 400,000 บาทนี้ รวมกับเงินส่วนตัวอีก 400,000 บาท ตั้งเป็นกองทุน ศาสตราจารย์ชวลิต อ่องจริตและคณะรางวัลมหิดลบีบราวน์ เพื่อสนับสนุนงานเปลี่ยนอวัยวะในทรวงอกของภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อไป
  • ได้รับการเลือก Awardee  selection and inclusion ลงพิมพ์ใน The Encyclopedia Intelligentsia Worldwide 2015
  • Biographical recorded in  WHO’s WHO of the world 1999 – 2000 Global Edition
ตำแหน่งทางวิชาการ
  • ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • หัวหน้าหน่วยศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศาสตราจารย์กิตติคุณ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นายกสมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย
  • อุปนายกสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย
  • นายกสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย
  • ประธานวิทยาลัยศัลยแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย
  • President International Society of Cardio Thoracic Surgeons
  • President Association of Thoracic and Cardio Vascular Surgeons of Asia
  • President Asian Society for Transplantation
  • กรรมการราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ แห่งประเทศไทย
  • กรรมการศูนย์รับบริจาคอวัยวะแห่งประเทศไทย
  • ผู้อำนวยการก่อตั้งศูนย์โรคหัวใจนเรศวร มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัด พิษณุโลก
  • นายกสมาคมนักเรียนทุน British Council 2 สมัย 
หน้าที่ปัจจุบัน
  • ที่ปรึกษาสมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย
  • ที่ปรึกษาสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย
  • ที่ปรึกษาสมาคมนักเรียนทุน British Council
  • ที่ปรึกษาหน่วยศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ประธานกองทุน ศาสตราจารย์นายแพทย์ชวลิต อ่องจริต และ คณะ รางวัล มหาวิทยาลัยมหิดล    บีบราวน์ เพื่อสนับสนุนงานเปลี่ยนปลูกถ่ายอวัยวะในทรวงอก ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การจะทำงานให้สำเร็จหรือเริ่มต้นบุกเบิกสิ่งใหม่ๆ

ต้องดูว่างานหรือสิ่งที่จะทำนั้นคืออะไร มีประโยชน์ไหม ประโยชน์มากแค่ไหน มีความคุ้มทุนไหม เมื่อแน่ใจว่าควรทำแล้วก็ดูต่อไปว่ายากแค่ไหน เป็นไปได้ไหม เรามีความพร้อมความสามารถพอไหม เมื่อศึกษารู้ทุกด้านอย่างละเอียดดีแล้วจึงตัดสินใจทำ ต่อไปวางแผนไตร่ตรองหาช่องทางเพื่อไปสู่เป้าหมาย แล้วมุ่งมั่นทำไป แก้ปัญหาทุกประการไม่ท้อถอย จนไปสู่ความสำเร็จ สิ่งที่ผมทำมาทั้งหมดนี้ ตรงกับธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา คือ อิทธิบาท 4 เป็นคุณธรรมให้สำเร็จความประสงค์ 4 อย่าง ได้แก่
     ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
     วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น
     จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่วางธุระ
     วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น
อาจชักนำบุคคลให้ถึงสิ่งที่ต้องประสงค์ซึ่งไม่เหลือวิสัย นอกจากนี้บวกกับ การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานทุกระดับ มองคนในแง่ดี จะนำไปสู่ความสำเร็จได้ง่ายขึ้น

ข้อคิดฝากแพทย์รุ่นหลัง
 ผมขออัญเชิญพระโอวาทของสมเด็จพระบรมราชชนก ทรงพระราชทานแก่นักศึกษาแพทย์ ใจความว่า“ฉันไม่ต้องการให้เธอเป็นเพียงแพทย์ แต่ต้องการให้เป็นคนที่ดีด้วย” ผมเชื่อว่าแพทย์ที่แท้จริงไม่ใช่คนที่รู้เพียงวิชาแพทย์ รักษาโรคได้อย่างเดียวต้องมีคุณสมบัติเพียบพร้อมหลายประการ เพราะ เป็นผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ชีวิตของเพื่อนมนุษย์และเกี่ยวข้องกับคนทุกชนชั้นทุกฐานะ ทุกเชื้อชาติ ศาสนา จึงต้องมีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความโอบอ้อมอารีเอื้ออาทร ดูแลผู้ป่วยให้โอกาสเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาจะเป็นคนชั้นไหนจะร่ำรวยหรือจน ไม่ว่าเป็นใครชีวิตเขามีค่าเท่ากัน ผลตอบแทนที่ทำให้เราปิติปลื้มใจในฐานะเป็นแพทย์ไม่ใช่เงินทอง แต่เป็นความปิติ ภูมิใจ สุขใจในการที่เราช่วยให้เขาหายจากการป่วย เจ็บหรือรอดชีวิต ต่อชีวิตให้เขาหรือให้ชีวิตใหม่แก่เขา ผมจำได้ว่าผมจะปลื้มใจ ดีใจ หายเหนื่อย หลังจากทำการผ่าตัดที่ยากๆ นานๆแล้วช่วยชีวิตให้รอดได้  นอกจากนี้แพทย์ต้องเป็นบุคคลที่น่านับถือ จึงต้องมีทั้ง Social และ Medical Etiquetteมารยาททางสังคมและมารยาทเฉพาะสำหรับแพทย์ ซึ่งสมัยก่อนมีการสอนเน้นในเรื่องนี้
ประการสุดท้ายแพทย์ต้องทำตัวให้ทันสมัยอยู่เสมอ ทันเหตุการณ์ การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาการและของโลก ต้องมี  continuing Education  ให้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา เช่น ร่วมประชุมวิชาการ อ่านวารสาร ค้นIT Internet  เพราะการแพทย์การรักษาโรคไม่อยู่นิ่ง มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตัวผมยังร่วมประชุมวิชาการ อ่าน Jounals เกี่ยวข้องกับสมาคมวิชาชีพจนอายุเกิน 80 ก็ยังทำอยู่
 
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาวชิรมงกุฎ ม.ว.ม.
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช)
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม)
ปาฐกถาเกียรติยศ (HONOURABLE LECTURES)
  • บรรยายพิเศษ เนื่องในวันปิยมหาราช ประจำปี พ.ศ.2537 “เรื่องการบุกเบิกการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจในประเทศไทย” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • The International Society of Cardiothoracic Surgeons, Japanese Annual Meeting 1988, Tokyo, Japan
  • 7th Asean Congress of Cardiology, Manila, Philippines, 1988
  • Rotary Club, Bangkok, 1988
  • 8th Asean Congress of Cardiology, Singapore, 1990
  • Papworth Cardiac Transplant Aniversary, Cambridge, England, 1990
  • Sapporo Medical College, Japan, 1991
  • JI KEI University School of Medical, Tokyo, Japan, 1991
  • Japanese Society of Organ Transplantation, Tokyo, Japan, 1991
  • Second Congress of Asian Society of Transplantation, Taipei, Taiwan, 1991
  • The 10th Biennial Asian Congress on Thoracic Cardio Vascular Surgeons, Bali, Indonesia, 1991
IMPORTANT PUBLICATIONS ,สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ :
  • ONGCHARIT C, et al : Pulmonary Valvulotomy using cardio-pulmonary bypass technique, first open heart operation in Thailand, Journal of the Medical Association  of Thailand, Vol 43, No.1, January 1960
  • ONGCHARIT C, et al : Mitral Valvulotomy for juvenile mitral stenosis :  Chulalongkorn Medical Journal, Vol 14, No.4, October 1969
  • ONGCHARIT C, ONGCHARIT CN, Pericarditis and Surgery Proceeding of the first Asian Congress on Thoracic and Cardiovascular Surgery, Manila, Philippines, November 1972; 221 -223
  • ONGCHARIT C, ONGCHARIT CN, SANPRADIT M, KUROWAT Y, MANOTHAYA C, BURANADHAM C: Clinical experience with Dura Mater Cardiac, Valves, Thorac. Surgeons 31, 1983, 282-287
  • ONGCHARIT C, et al: Findings in explanted Dura Mater cardiac valve in Proceeding of International Symposium on Cardiac Bioprostheses, London, UK, 1985.
  • The first successful Heart Transplantation in Thailand and Asean Region: Chula. Med. J vol.32, No.9, Sept. 1988, 835-840
  • Chawalit 0., et al: The First Successful Heart Transplantation in South East Asia; Japanese Anuals of Thoracic Surgery. Vol.8, No.5  Oct. 1988, 480-483

Image Gallery

Works

back