ศาสตราจารย์แพทย์หญิง ท่านผู้หญิง ศรีจิตรา บุนนาค

1.ชื่อ
ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ท่านผู้หญิงศรีจิตรา  บุนนาค

2.เป็นที่รู้จักในด้าน
“แพทย์หลวงผู้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทและถวายงานรักษาแก่พระบรมวงศานุวงศ์  ผู้ร่วมบุกเบิกในการก่อตั้งราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย”

ผลงานที่ทำ
เป็นที่ปรึกษาด้านการแพทย์และถวายการรักษาแก่พระบรมวงศานุวงศ์  เนื่องจากเป็นผู้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการยกระดับวิชาชีพแพทย์จึงได้ร่วมก่อตั้งราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทำให้เกิดมีการศึกษาหลังปริญญา และมีหลักสูตรการฝึกอายุรแพทย์ทางด้านสาขาอายุรศาสตร์  และได้ร่วมบุกเบิกเรื่องสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย จึงทำให้มีหลักสูตรทางด้านสาขาวิชาต่อมไร้ท่อขึ้นมา ก่อให้เกิดการพัฒนาการรักษาซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง ทำให้ผู้ป่วยมีสุภาพที่ดีขึ้น อายุยืนยาวขึ้น  รวมถึงก่อตั้งสมาคมหลอดเลือดจุลภาคไทย ภาควิชาสรีรวิทยา เพื่อให้มีความทัดเทียมนานาประเทศ ทำให้สาขาวิชานี้ ได้เป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบัน

3.แนวความคิด / ทัศนคติ / แรงบันดาลใจ / ฝากถึงรุ่นน้อง นศ.แพทย์ / มุมมองต่อคณะแพทย์จุฬาฯ
หลักในการเรียนให้ประสบความสำเร็จ
-           ตั้งใจเรียนโดยไม่ได้คิดจะแข่งขันหรือต่อสู้กับใครเลย คิดแต่ว่าทำยังไงเราถึงจะทำให้ดีที่สุด ชนะตัวเองมากที่สุด  ที่เป็นแบบนี้อาจจะเพราะได้การอบรมสั่งสอนหรือถ่ายทอดบางส่วนมาจากคุณพ่อ และการที่จะลงมือทำสิ่งใดนั้น  สิ่งสำคัญอยู่ที่จิต ให้คิดระลึกว่าเราจะทำอะไร เมื่อเราตั้งจิตตั้งใจดีแล้วผลก็จะสำเร็จ

มุมมองต่อระบบการศึกษา
-           ระบบการเรียนสมัยก่อน ทำให้ได้เข้าไปใกล้ชิดกับอาจารย์จริงๆ เช่นว่า ได้ผ่านไปที่ศัลยกรรมประมาณ 3-4 เดือนก็ได้ช่วยอาจารย์ ได้ลงมือทำจริงๆ  ทำให้รู้สึกมีความเชื่อมั่น มีความชำนาญมากขึ้น ทำให้เราพร้อม มีความรู้ กล้าที่จะออกไปต่างจังหวัดได้อย่างมีความมั่นใจเพราะว่าเรียนรู้ทุกสาขา ทั้งได้ผ่า ทั้งด้านศัลยกรรม  สูติ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความมั่นใจ เหมือนมีอาวุธครบมือในการรับกับสถานการณ์ต่างๆ

ความสุขจากการทำงาน
-           ความสุขเกิดมาจากความรักความผูกพันกับงาน   เวลานี้ก็ยังทำงานอยู่ก็ไม่ทิ้งไป เพราะรู้สึกว่าได้ใช้วิชาชีพให้เกิดประโยชน์  และมีโอกาสที่จะทำให้คนไข้มีความสุข หรือว่าครอบครัวคนไข้ สมาชิกของครอบครัวของเขามีความสุข

หลักในการทำงานและเผชิญอุปสรรค
-           พระองค์ท่านเคยรับสั่งว่า ต้องจิตใจหนักแน่นแล้วก็อดทน คนเรามีหลายกลุ่ม หลายพวก หลายสถานะ เพราะฉะนั้นพยายามเข้ากับคนในอาชีพต่างๆให้ได้ แล้วก็พยายามทำงานร่วมกับทุกคนให้ได้ แล้วก่อให้เกิดประโยชน์โดยรวมกับสังคม  ให้อดทน  ทุกครั้งที่มีปัญหาหรืออุปสรรคก็จะนึกถึงเวลาที่พระองค์ท่านที่ทรงงานอย่างยากลำบาก และระลึกถึงที่พระองค์ท่านทรงสอนไว้ว่า “ทำอะไรให้คิดถึงประเทศชาติเป็นหลัก” 

แนวทางการรักษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
-           ในการรักษาผู้ป่วยจะใช้วิธีการในการไม่เก็บผู้ป่วยไว้คนเดียว ไม่ว่าจะเป็นคนไข้ระดับไหนก็ตาม ควรที่จะเปิดโอกาสให้สาขาวิชาหรือผู้ที่มีความรู้มากกว่าเราร่วมทำการรักษา  ทำงานร่วมกันกับหลายๆสถาบัน อย่าทำงานสถาบันเดียว เพราะจุดประสงค์ของเราคือให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดีที่สุด อันนี้คือหลักที่ยึดมาโดยตลอด

มุมมองในการให้บริการทางการแพทย์ในอนาคต
-      การรักษาในอนาคตนี้ ก็ควรจะเข้าในระบบของสาธารณสุข ระบบเดียวกับสาธารณสุขมูลฐาน  และมี Home visiting service เป็นการใช้งบประมาณที่น้อยแต่คุณภาพชีวิตของประชาชนจะดีขึ้นทั้งในด้านป้องกันโรค วินิจฉัยโรคตั้งแต่ระยะแรก ทำให้รักษาโรคได้ไว โรคจะไม่เข้าสู่ระยะที่รุนแรง ทำให้ชีวิตยืนยาว คุณภาพชีวิตดีขึ้น   ซึ่งทำให้สามารถเข้าถึงคนทุกรุ่น ทุก Generation  ก็หวังว่าจะสามารถทำได้ทั่วถึงในอนาคตอันไม่ไกลนี้

ฝากถึงคณะแพทย์จุฬา
-      ขณะนี้คณะแพทย์ของเรานั้นมีการโหลดงานค่อนข้างสูง อาจารย์เราไม่ค่อยมีเวลาทำวิจัยเพราะว่าทำงานบริการหนักเหลือเกิน หากมีอาจารย์พิเศษมาช่วยแบ่งเบาคณาจารย์ แต่ละภาควิชาให้ปริมาณงานลดลงมีเวลาทำการสอนได้ดีขึ้น ทำงานทางวิชาการได้เชิงลึกขึ้น เป็นระบบขึ้น โดยอาจจะไม่ใช่ทุนรัฐบาล แต่ใช้ทุนมูลนิธิเข้ามาช่วยก็น่าจะดี  แต่อย่างไรก็ตามความสำเร็จของคณะแพทย์ ณ วันนี้ นับว่าดีมาก ทั้งในด้านเชิงบริการและวิชาการ แต่จะดีมากกว่านี้ถ้าทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน  ประนีประนอมกัน ดึงส่วนที่ดีที่สุดของอาจารย์แต่ละท่านมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ฝากถึงนิสิตแพทย์
-     ให้นักเรียนแพทย์ไปอ่านที่พระบรมราชนก ท่านทรงสั่งสอนไว้ “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมแห่งอาชีพ ไว้ให้บริสุทธิ์”   ทำตามที่ท่านทรงสั่งสอนไว้คือที่สุดแล้ว

-      ที่ประทับใจมากๆ ก็รู้สึกว่าเป็นโอกาสสูงสุดที่เรารับได้ดีกว่าก็คือ การได้รับที่ได้มีโอกาสได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาท ไปตามเรือนต่างๆ เกือบจะได้ไปทุกจังหวัดในสมัยก่อน แต่เมื่อไปเสร็จแล้วก็จะเข้าไปในที่ซึ่งไปพัฒนา ท่านก็จะลงตามป่า ตามเขา เยี่ยมชาวป่าชาวเขา ชาวบ้านก็นั่งฮอเก่าๆ โครงครางๆ ไป ได้เห็นการทำงานของทั้งสองพระองค์แล้วประทับใจมาก ท่านทรงดูทุกอย่างแบบองค์รวม ไม่ใช่ดูแต่ประชาชนอย่างเดียว ดูว่าเขาอยู่ยังไง กินยังไง เป็นยังไง สภาวะแวดล้อมเป็นยังไง น้ำพอไหม ห้องน้ำห้องส้วมมีหรือเปล่านะคะ แล้วทำยังไงถึงจะจัดการกับสิ่งต่างๆที่เขายังไม่มีได้ แล้วประชุมนำมาแก้ไขหมดทุกอย่างที่รับสั่ง ทรงรับสั่งว่า พระเจ้าอยู่หัว แกเป็นปาก ท่านจงเป็นน้ำ พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ท่านจะเป็นปาก บ้านเล็กในป่าใหญ่
 
4.ประวัติการศึกษาและผลงาน
การศึกษา
อุดมศึกษา
แพทยศาสตร์บัณฑิต   เกียรตินิยม(เหรียญทอง)มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์                            พ.ศ. 2500
แพทย์ฝึกหัด (Rotating Internship) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  คณะแพทยศาสตร์                  พ.ศ. 2501
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                                                                                                  
แพทย์ประจำบ้าน  สาขาวิชาอายุรศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  คณะแพทยศาสตร์            พ.ศ. 2502
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย        
ปริญญาโทในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ  มหาวิทยาลัยชิคาโก  สหรัฐอเมริกา                  พ.ศ. 2504
ปริญญาเอกในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยชิคาโก  สหรัฐอเมริกา                           พ.ศ. 2507                                                                                                                               
 
ตำแหน่งทางวิชาการ
 อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                พ.ศ. 2509
หัวหน้าสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์           พ.ศ. 2509 – 2535
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                                                                                      
หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์  ภาควิชาอายุรศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์                                พ.ศ. 2526 – 2530
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                                                                                          
รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา  คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                   พ.ศ. 2530 – 2535
ศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                                     พ.ศ. 2536

ตำแหน่งพิเศษที่ได้รับแต่งตั้ง
แพทย์ประจำพระองค์  สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ  พระบรมราชินีในรัชกาลที่  7               พ.ศ. 2511 – 2514
แพทย์ที่ปรึกษาสาขาอายุรศาสตร์ใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  และ           พ.ศ. 2511 – 2558
สมเด็จพระเทพรัตรราช สุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี                                                           
กรรมการตรวจวิทยานิพนธ์ของบัณฑิตวิทยาลัย   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                             พ.ศ. 2514
กรรมการในคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  ถวายการรักษาพยาบาลแด่              พ.ศ.2515
องค์สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ  สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น  ปุณสิริ)                                           
อนุกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้  ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม               พ.ศ. 2517 – 2532
สาขาอายุรศาสตร์ของ  แพทยสภา
กรรมการวิจัยคณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                                                   พ.ศ. 2518
กรรมการบริหารบัณฑิตวิทยาลัย   บัณฑิตวิทยาลัย   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                        พ.ศ. 2519 – 2521
กรรมการและผู้ก่อตั้ง ASEAN   Federation of Endocrine Societies   (AFES)                   พ.ศ. 2522
กัวลาลัมเปอร์  ประเทศมาเลเซีย
ประธานกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการ                                พ.ศ. 2522 – 2523
คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรรมการผู้ก่อตั้งและอุปนายกสมาคม  สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย                              พ.ศ. 2524
นายกสมาคม ASEAN Federation of Endocrine Societies (AFES)                                  พ.ศ. 2525 - 2526
ASEAN Federation of Endocrine Societies
กรรมการผู้ก่อตั้ง  และกรรมการอำนวยการราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย               พ.ศ. 2526 – 2530
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                             พ.ศ. 2526 – 2530
กรรมการผู้ก่อตั้ง  และนายกสมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย                          พ.ศ. 2537
สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย กรรมการผู้ก่อตั้ง  และนายกสมาคม              พ.ศ. 2541
หลอดเลือดจุลภาคไทย   สมาคมหลอดเลือดจุลภาคไทย
กรรมการบริหารมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล                                                                พ.ศ. 2534 – ปัจจุบัน
Advisory Board, The 15th Congress of the ASEAN Federation of                               พ.ศ.2552
Endocrine Societies (AFES 2009)  ASEAN Federation of Endocrine Societies
อ.ก.ม วิสามัญทำหน้าที่ประเมินผลทาง วิชาการสาขาอายุรศาสตร์ของผู้เสนอ                        พ.ศ. 2558
ขอตำแหน่งศาสตราจารย์คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย     

เกียรติประวัติและรางวัล
ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกแพทยศาสตร์  มูลนิธิอานันทมหิดล                                             พ.ศ. 2502
รางวัล Traveling Grant, Fulbright  Foundation                                                                  พ.ศ. 2502
รางวัล The Society of the Sigma Xi, Chicago Chapter  ให้แก่นักวิจัยที่มีผลงานดีเด่น          พ.ศ. 2505
Grant for Research and Development in Endocrine Laboratory from The China            พ.ศ. 2508
 Medical Board of New York
รางวัลทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช การศึกษาด้านคลินิกและชีวเคมีของผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจ          พ.ศ. 2520
อันเนื่องมาจากหลอดเลือดโคโรนารีและFamilial คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
WHO Visiting Scientist Grant Award under Project THA/HMD/O15/RB 84 for                พ.ศ. 2524
Long Term Planning for the Elderly in Thailand
 
Research Grant from Sandoz International for Aging Problems and Possible Solutions  พ.ศ. 2531
in Klong Toey Slum
รางวัล the Asian Union for  Microcirculation Award for  Outstanding Scientist                  พ.ศ. 2540
สำหรับนักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานเกี่ยวกับหลอดเลือดและการหมุนเวียนของหลอด
เลือด ทั้งทางด้านผลงานพัฒนาวิชาการ และบุคลากร
ปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                                    พ.ศ. 2548
 
งานวิจัย
1.         Microcirculation of the islets of Langerhans   และ Experimental diabetes mellitus  เริ่ม พ. ศ. 2504 ถึง ปัจจุบัน  มีผลงานตีพิมพ์ 18 เรื่อง มี 16 mm. coloured motion picture 6 เรื่อง
2.         โรคเบาหวาน และความผิดปกติของไขมันในเลือดและเนื้อหัวใจตาย  จากการขาดหลอดโลหิตนำเลือดมาเลี้ยง  เริ่ม พ.ศ.  2509 จนถึงปัจจุบันมีผลงาน 6 เรื่อง
3.         โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ เริ่ม พ.ศ.  2519  จนถึงปัจจุบันมีผลงาน 6 เรื่อง
4.         โรคทางต่อมไร้ท่อทั่วไป  เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมธัยรอยด์  น้ำหนักและความสูงของไทย  เริ่ม พ.ศ.  2510  จนถึงปัจจุบันมีผลงาน 33  เรื่อง
5.         Microcirculation, Endothelial Cell injury and Pathogenesis of NIDDM Proceedings of The Third Asian Congress for Microcirculation, Monduzzi  Editore 1997
 
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)                                                                                               พ.ศ. 2513
จตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.)                                                                                                    พ.ศ. 2513
ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)                                                                                                 พ.ศ. 2515
ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.)                                                                                                     พ.ศ. 2519
ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)                                                                                              พ.ศ. 2520
ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก  (ท.ช.)                                                                                              พ.ศ. 2524
ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)                                                                                                     พ.ศ. 2526
ประถมาภรณ์มงกุฎไทย  (ป.ม.)                                                                                            พ.ศ. 2527
ประถมาภรณ์ช้างเผือก  (ป.ช.)                                                                                            พ.ศ. 2530
มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)                                                                                                      พ.ศ. 2533
ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)                                                                                           พ.ศ. 2534
 

Image Gallery

Works

back