ย้ายสังกัด เป็นคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

25 Oct 1967
เพื่อสนองพระราชปรารภดังกล่าว ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ใน ขณะนั้น (ศาสตราจารย์ นพ.เฉลิม พรมมาส) จึงได้ติดต่อประสานงานการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่ผ่านทางผู้อำนวยการ กองบรรเทาทุกข์และอนามัย สภากาชาดไทย (ศาสตราจารย์อุปการคุณ พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ) โดยขอใช้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน คณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่จึงก่อกำเนิดขึ้นในนาม "คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" และสามารถเปิดการเรียนการสอนได้ ภายใน 9 เดือนเศษนับจากวันที่ได้เริ่มมีการติดต่อครั้งแรก โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในกระทรวง สาธารณสุข (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2490[3] ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ให้แบ่งส่วนราชการคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ออกเป็น 10 แผนก ได้แก่ แผนกอำนวยการ แผนกกายวิภาคศาสตร์ แผนกสรีระวิทยา แผนกพยาธิวิทยา แผนกอายุรศาสตร์ แผนกศัลยศาสตร์ แผนกสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา แผนกรังสีวิทยา แผนกกุมารเวชศาสตร์ และ แผนกจักษุวิทยาและวิทยาโสตนาสิกลาริงซ์ ภายหลังได้โอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2510[4][5][6] ปัจจุบันแบ่งส่วนงานออกเป็น 21 ภาควิชาและสำนักงานเลขานุการคณะ[7] โดยในแต่ละภาควิชาของคณะแพทยศาสตร์มีฐานะเป็นแผนกหนึ่งของโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ นอกจากนี้คณาจารย์ของคณะแพทยศาสตร์ ยังปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ประจำในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อีกด้วย[8]
กลับ